แชร์

Freight Forwarder กับ Shipping มีความแตกต่างกันอย่างไร

236 ผู้เข้าชม
Freight Forwarder จัดการแทนทุกขั้นตอน
1.Custom Broker เป็นผู้รับมอบอำนาจ จากผู้นำเข้า-ส่งออก เพื่อปฎิบัติพิธีการศุลกากร
2.Forwarding Business ตัวแทนในการรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศของผู้นำเข้าส่งออก
3.Transportation Provider ผู้ขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน ทางเรือ และทางรถ
4.Packing บริการรับจัดการบรรจุภัณท์สินค้า
5.Warehouse ให้บริการคลังเก็บสินค้า อาจจะป็นผู้ดำเนินการเองหรือร่วมกับผู้ประกอบการรายอื่นที่มีคลังสินค้าไว้บริการ
6.Labour ให้บริการทางด้านแรงงาน คนงาน ในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์
7.Multimodal Transport ให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
8.Logistics Service ให้บริการในการบริหารโลจีสติกส์หรือการกระจายสินค้า
9.Business Consultant ให้บริการด้านให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก
นอกจากนี้ Freight Forwarder ยังเป็นผู้จัดการเรื่องการขนส่งให้แก่ลูกค้า ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ดังนั้นบริษัทที่ให้บริการจะต้องมีเครือข่ายที่กว้างขวาง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด

Freight Forwarder ไม่ใช่ Shipping ซึ่งสองสิ่งนี้มันคือคนละเรื่องเดียวกัน เอาเป็นว่าจริงๆแล้ว Freight Forwarder เมื่อจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้แล้วก็ยังรับดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า โดยจัดทำใบขนสินค้า ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากรเพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้า และส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งสินค้าออกด้วย ซึ่งส่วนนี้ที่เรียกว่า Shipping คนละหน้าที่เดียวกัน หรือจะเรียกว่าเป็นการทำงานแบบ One Stop Service นั่นเอง

Freight Forwarder หรือ ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ( สามารถส่งสินค้าในประเทศได้เหมือนกัน แต่จะเน้นไปทางระหว่างประเทศมากกว่า)

หน้าที่ เป็นตัวแทนที่สามารถรับขนส่งสินค้าตั้งแต่หน้าโรงงานของ Shipper ( ผู้ขาย, ผู้ส่งออก ) ไปยังหน้าโรงงานของ Consignee ( ผู้ซื้อ, ผู้นำเข้า ) เรียกว่าการให้บริการ แบบ Door to Door Service หรือ รับขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ใดในโลก ตามที่ลูกค้ากำหนดไว้ สามารถส่งได้ทุกรูปแบบการขนส่ง ทางเรือ ทางเครื่องบิน ทางรถไฟ ทางรถ รวมถึงให้บริการพิธีการศุลกากรทั้งขาเข้า ขาออก, คลังสินค้า, กระจายสินค้า, ทำบรรจุภัณฑ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และที้สำคัญ Freight Forwarder สามารถให้คำปรึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎระเบียบ เอกสาร ข้อมูลต่างๆในการขนส่งสินค้าและการค้าระหว่างประเทศ ได้อีกด้วย

Shipper คือ ผู้ส่งสินค้า
Consignee คือ ผู้รับสินค้า

บทความที่เกี่ยวข้อง
การนำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาต
บทความโดย คุณณัฐณิจชา ทรวดทรง ผู้จัดการฝ่ายขายโลจิสติกส์วันที่ 25 เมษายน 2564
25 ก.ย. 2024
7 ขั้นตอนส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้ !
ขั้นตอนส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
7 ก.ค. 2024
นำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศมาขายแบบถูกกฎหมาย
การนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศมาขายแบบถูกกฎหมาย มีวิธีและขั้นตอนง่ายๆ เราจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆดังข้อความด้านล่างนี้
23 มิ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy